1. ข้อมูลทั่วไป
  2. ชมรมผู้สูงอายุฯ วัดเวฬุวัน จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยความริเริ่ม และอุปถัมภ์จากพระครูสิทธิวราคม (นิคม) เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน และพระสงฆ์ภายในวัด ทั้งนี้เกิดจากแนวคิดที่จะตอบแทนทายกทายิกาที่มารักษาศีลปฏิบัติที่วัดเป็นประจำในรูปสวัสดิการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้รวมตัวกันและพึ่งพากันเองในชมรม อันเป็นการแบ่งเบาภาระของลูกหลาน ต่อมาจึงมีมติร่วมจัดตั้งชมรมขึ้นเป็นรูปธรรม มีคณะกรรมการบริหารชมรม มีระเบียบกติกาในการสงเคราะห์ช่วยเหลือ และมีการบำเพ็ญประโยชน์อื่นๆต่อสังคมด้วย

    สมาชิกชมรมส่วนใหญ่ ประมาณ ร้อยละ ๙๕ มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลนิคม ได้แก่ บ้านตาดดงเค็ง หมู่ ๒ บ้านคำเชียงยืน หมู่ ๓ บ้านศรีสมบูรณ์ หมู่ ๔ บ้านคำประถม หมู่ ๖ และบ้านเสริมชัยศรี หมู่ ๑ นอกจากนั้นเป็นสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ ตำบลโนน้ำเกลี้ยง และตำบลโนนบุรี ในการดำเนินงานของชมรม มีการปรึกษาหารือกันเป็นประจำในวันพระ เมื่อสมาชิกมารักษาศีลที่วัด แต่การประชุมใหญ่ประจำปีนั้น มีเพียงหนึ่งครั้ง ในปีแรกของการก่อตั้งมีสมาชิก ๕๘ คน มีเงินกองทุนชมรมฯ ๑๐,๙๘๒.๙๑ บาท จ่ายสงเคราะห์สมาชิกเจ็บป่วย 4 ราย ๑,๒๐๐ บาท ปีต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน (๒๕๕๒) ชมรมมีสมาชิกทั้ง ประเภท ๑ และประเภท ๒ รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๑๓ คน และมีเยาวชนคนดีที่เป็นเครือข่ายรักษาศีลปฏิบัติธรรมในวันพระอีก ประมาณ ๑๓ คน รวม ๑๒๖ คน

    ชมรมผู้สูงอายุฯแห่งนี้ ดำเนินการกันเองโดยอาศัยความเมตตา กรุณา และความเสียสละของสมาชิก และคณะสงฆ์วัดเวฬุวัน รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ เป็นหลัก ในระยะหลัง ประมาณ ปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๑ จึงมีหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุนบ้าง คือ ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๓ ทำให้ชมรมมีความเข้มแข็งขึ้นโดยลำดับ ปัจจุบันชมรมมีเงินกองทุน ประมาณ ๕๓,๘๘๒ บาท

  3. วัตถุประสงค์หลัก
    1. เพื่อสงเคราะห์แก่สมาชิกในเรื่องการรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วยและเสียชีวิต ตามมติของชมรม เป็นการแบ่งเบาภาระของสมาชิกในยามฉุกเฉิน
    2. เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างอุบาสกอุบาสิกาผู้สูงอายุที่มารักษาศีลปฏิบัติธรรมในวันพระ ของวัดเวฬุวันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
    3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พุทธศาสนิกชนสนใจเข้าวัดปฏิบัติธรรมมากขึ้น
  4. ลักษณะการดำเนินงาน
    1. เปิดรับสมาชิกผู้สนใจอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป
    2. บริจาคเงินบำรุงชมรม ฯ ปีละ ๒๐๐ บาท
    3. สมาชิกประเภท ๑ มารักษาศีลปฏิบัติธรรมที่วัด (อย่างน้อย ปีละ ๖ ครั้ง)
    4. สมาชิกประเภท ๒ เข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญที่วัด (อย่างน้อย ปีละ ๖ ครั้ง)
    5. เวลาเจ็บป่วยไปเยี่ยมให้กำลังใจกันและมอบเงินช่วยเหลือครั้งละ ๓๐๐ บาท เป็นอย่างต่ำ
    6. เวลาเสียชีวิตช่วยค่าทำบุญฌาปนกิจศพ ตั้งแต่ ๒,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ บาท
    7. มีรถเข็นและไม้เท้าให้สมาชิกยืม
    8. ตรวจสุขภาพประจำปี
    9. ร่วมกิจกรรมงานประเพณีของวัดและชุมชน
    10. ทัศนศึกษานอกสถานที่และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อื่นๆ
    11. พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชมรมผู้สูงอายุวัดอื่นๆ
    12. ทำความสะอาดวัด/ออกกำลังกายวิถีพุทธ
  5. กิจกรรมที่ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบัน
    1. เข้าวัดฟังธรรมรักษาศีลในระหว่างเข้าพรรษาของแต่ละปี
    2. ชักชวนให้เยาวชนลูกหลานเข้าวัดฟังธรรมร่วมกัน (ขยายผลสู่เยาวชน)
    3. ร่วมกับเทศบาลตำบลนิคม จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ วันแม่แห่งชาติและวันพ่อแห่งชาติทุกปี
    4. ร่วมกับเทศบาลตำบลนิคม จัดกิจกรรมประเพณีแห่เทียนพรรษาทุกปี
    5. ขยายเครือข่ายของชมรมฯ สู่วัดอื่นๆในอำเภอสหัสขันธ์ฯ เช่น วัดฉันทนิมิตรและวัดป่าโป่งเชือกชัยมงคล
    6. สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุวัดต่างๆ ด้วยการมอบโค - กระบือ ให้ปีละ ๑ - ๒ วัดๆละ ๑ - ๒ ตัว
    7. ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น เช่น แข่งขันประกวดสรภัญญะ และจัดทำพานบายศรี
    8. จัดทำโรงกรองน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อบริจาคให้วัดและสนับสนุนงานบุญในพื้นที่
    9. ช่วยดูแลรักษาสวนป่าของวัดเวฬุวัน
    10. จัดปฏิบัติธรรมสำหรับผู้สูงอายุ ๑-๒ วัน ปีละไม่ต่ำกว่า ๒ ครั้ง
  6. งานที่ดำเนินการเพิ่มเติมในอนาคต
    1. จัดทำห้องน้ำสำหรับผู้พิการเพิ่มเติม
    2. จัดทำห้องปฐมพยาบาล พร้อมเตียงผู้ป่วย ๑ ที่
    3. จัดทำสำนักงานชมรมถาวรเป็นการเฉพาะ
    4. ขยายเครือข่ายสู่วัดต่างๆ
    5. ปรับปรุงสวัสดิการแก่สมาชิกเพิ่มขึ้น
    6. แสวงหาความร่วมมือและงบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น เทศบาลตำบลนิคม และศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๓ เป็นต้น
  7. จุดเด่นของชมรม
    1. ริเริ่มและดำเนินงานกันเองโดยผู้สูงอายุที่มารักษาศีลปฏิบัติธรรมที่วัด
    2. มีเจ้าอาวาสวัดเวฬุวันและคณะสงฆ์คอยให้คำปรึกษาชี้แนะและอุปถัมภ์
    3. มีกองทุนสวัสดิการให้สมาชิกทุกประเภท ทั้งเจ็บป่วยและเสียชีวิต
  8. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน
    1. คณะสงค์วัดเวฬุวัน
    2. เทศบาลตำบลนิคม
    3. ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๓
    4. ผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปๆ
  9. ปัญหาและอุปสรรค
    1. องค์กรปกครองท้องถิ่นยังไม่ได้สนับสนุนงบประมาณแก่ชมรมฯโดยตรง แต่จัดให้สมาชิกเป็นบางคนเท่านั้น
    2. การดำเนินการของชมรมฯ ยังต้องอาศัยบุคคลภายนอกช่วยดูแล เพราะสมาชิกส่วนใหญ่มีอายุมาก
    3. สถานที่ทำงานชมรมฯและที่จัดเก็บเอกสารค่อนข้างคับแคบ ไม่สะดวกต่อการดำเนินงาน
  10. ข้อเสนอแนะ
    1. ผู้นำชมชนในพื้นที่ควรให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งนโยบายและงบประมาณสนับสนุน
    2. เทศบาลตำบลนิคม และศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ ๓ ควรจัดงบสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชมรมมากขึ้นและหลากหลายตามศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน
  11. ผลงาน / รางวัลที่ได้รับ
    1. พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับเกียรติบัตร วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับจังหวัด
    2. ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้รับโล่ ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น ด้านทันตสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ ๖
    3. ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้รับโล่ ชมรมผู้สูงอายุดีเด่น ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
    4. ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้รับโล่ วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คณะกรรมการ ชมรมผู้สูงอายุผู้ปฏิบัติธรรมวัดเวฬุวัน


กลับขึ้นบน^